วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

ข้อยกเว้นความคุ้มครอง ประกันสุขภาพ

ข้อยกเว้นความคุ้มครอง ประกันสุขภาพ

•การรักษาอาการเรื้อรัง สภาวะหรือการเจ็บป่วยใด ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ทำประกัน  ทั้งนี้รวมถึงภาวะแทรกซ้อน 
•การรักษา หรือแก้ไขความบกพร่องที่เป็นมาแต่กำเนิด ปัญหาด้านพัฒนาการ หรือโรคทางพันธุกรรม
•การตั้งครรภ์ การคลอดบุตร การแท้งบุตร การทำหมัน  แก้หมัน  การคุมกำเนิด การแก้ไขปัญหาการมีบุตรยาก  ยกเว้นในกรณีที่ซื้อผลประโยชน์เพิ่มเติมส่วน Maternity
•การรักษา เพื่อให้สวยงาม เช่น สิว ฝ้า กระ รังแค ผมร่วง ควบคุมน้ำหนัก 
•โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือกลุ่มโรคที่สัมพันธ์กับโรคภุมิคุ้มกันบกพร่อง กามโรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ 
•การรักษาความผิดปกติทางเพศ  แปลงเพศ 
•การรักษาแบบพักฟื้น หรือพักผ่อน การให้น้ำเกลือโดยไม่มีการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บที่ชัดเจน 
•การตรวจสุขภาพ หรือ การตรวจเพื่อค้นหาโรค  (การตรวจรักษาขณะที่ไม่ปรากฏอาการของโรค) 
•การตรวจ การป้องกัน การรักษา เพื่อชะลอการเสื่อมของวัย  (หมายรวมถึงการสั่งจ่ายยากลุ่มวิตามิน )
•การรักษาโรค หรือภาวะที่เกี่ยวกับทางจิตประสาท ภาวะเครียด ความผิดปกติของการนอนหลับ  (หมายรวมถึงการสั่งจ่ายยาในกลุ่มโรคจิตประสาท  ยานอนหลับ)
•การติดสุราเรื้อรัง การติดสารเสพติด
•การตรวจวิเคราะห์ หรือหาสาเหตุใดๆ ที่ไม่ใช่ความจำเป็นทางการแพทย์ หรือเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเข้ารับการรักษาพยาบาล 
•การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการทดลอง 
•การพยาบาลที่ไม่ได้เป็นการรักษาแผนปัจจุบัน การฝังเข็ม การนวดกดจุด รวมถึงการรักษาแพทย์ทางเลือก 
•การบริการโดยพยาบาลพิเศษ
•การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค  ยกเว้นการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก และวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ภายหลังการถูกสัตว์ทำร้าย 
•การตรวจรักษาโรคในช่องปาก ทันตกรรม
•การตรวจรักษาสายตา อุปกรณ์ช่วยในการมองเห็น 
•การตรวจรักษาการได้ยิน เครื่องช่วยการได้ยิน 
•กายอุปกรณ์พิเศษทุกชนิด เช่น ไม้เท้า อุปกรณ์ช่วยพยุงร่างกาย
•การเปลี่ยนอวัยวะ  ใส่อวัยวะเทียม เช่น แขน ขา ตา ไต เครื่องกระตุ้น หัวใจด้วยไฟฟ้า
เลนซ์แก้วตาเทียม เป็นต้น
•ค่ารักษา ค่าบริการที่เรียกเก็บล่วงหน้า

การรักษาโรคต่อไปนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกนับจากวันที่มีผลบังคับความคุ้มครองในปีแรก

เนื้องอกหรือมะเร็งทุกชนิด (Tumor or Cancer)
ริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids)
ไส้เลื่อนทุกชนิดที่ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด (Hernias)
ต้อเนื้อ ต้อลม หรือต้อกระจก (Pterygium, Pinguecula, Cataract)
การตัดทอนซิล หรืออดีนอยด์ (Tonsillectomy or Adenoidectomy)
นิ่วทุกระบบ (Stones)
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 162)
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้
--------------------------------
           อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 (76) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 263 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้

            ข้อ  1 การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันสุขภาพ ให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร เพื่อเอาประกันภัยสำหรับบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ตามจำนวนเบี้ยประกันภัยที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาท ในปีภาษีนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

                        (1)  ต้องเป็นการทำประกันสุขภาพให้กับบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ซึ่งบิดาหรือมารดาดังกล่าวแต่ละคนมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เกินสามหมื่นบาท

                        (2)  ผู้มีเงินได้หรือสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้จะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาที่ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิขอยกเว้นภาษีเงินได้จากการทำประกันสุขภาพสำหรับบิดามารดาดังกล่าว

                        (3)  ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้กรณีการทำประกันสุขภาพสำหรับบิดามารดาดังกล่าวตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะได้รับยกเว้นภาษีนั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่

                        (4)  กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันทำประกันสุขภาพสำหรับบิดามารดาดังกล่าว ให้ผู้มีเงินได้ทุกคนได้รับยกเว้นภาษีเงินได้โดยเฉลี่ยเบี้ยประกันภัยที่ผู้มีเงินได้ร่วมกันจ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาท ตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้

                        (5)  กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนเบี้ยประกันภัยที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาท

                        (6)  กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ดังนี้

                              (ก)   ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนเบี้ยประกันภัยที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาท
                               (ข)   ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนเบี้ยประกันภัยที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาท

                              (ค)   ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนเบี้ยประกันภัยที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาท                         (7) กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะการทำประกันภัยสำหรับบิดามารดาที่อยู่ในประเทศไทย


            ข้อ  2  การประกันสุขภาพตามข้อ 1 ให้หมายถึง

                        (1)   การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ

                        (2)   การประกันภัยอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก

                        (3)   การประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)

                        (4)   การประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)

            ข้อ  3 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองจากบริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัย โดยต้องมีข้อความอย่างน้อยดังต่อไปนี้

                        1.  ชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกันภัย

                        2.  ชื่อ และนามสกุลของผู้จ่ายเบี้ยประกันภัย (ทุกคน)

                        3.  ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้รับประกันภัย

                        4.  จำนวนเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันสุขภาพตามข้อ 2
จำนวนเงินที่มีสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้

            ข้อ  4  การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นำเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ไปคำนวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

            ข้อ  5  ในกรณีมีปัญหาในทางปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจวินิจฉัยและคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดตามประกาศนี้ด้วย
            ข้อ  6  ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2549
พิชาติ เกษเรือง
(นายพิชาติ เกษเรือง)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร